เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความ
พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงแสดงอนาบัติ จึงตรัสคำว่า อนาปตฺติ
อธิมาเนน เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิมาเนน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้อวด ด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ.
บทว่า อนุลฺลปนาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
มิได้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร ด้วยความเป็นผู้หลอกลวง ไม่ประสงค์จะอวด พยากรณ์
พระอรหัตผล ในสำนักของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัย
ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นนั่นแล. อนึ่ง พวกภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ฝั่งแม่น้ำ
วัคคุมุทา ผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่เธอเหล่านั้น ฉะนี้
แล.
ปทภาชนียวรรณนา จบ

(จตุตถปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน 3)


ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ
เกิดแต่กายกับจิตของภิกษุผู้อวดอยู่ ด้วยหัวแม่มือ 1 เกิดแต่วาจากับจิตของ
ภิกษุผู้อวดด้วยการเปล่งวาจา 1 เกิดแต่กายวาจากับจิต ของภิกษุผู้ทำอยู่ทั้ง 2
อย่าง 1 เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะเป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม
วจีกรรม เป็นอกุศลจิต มีเวทนา 3. จริงอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวอวดทั้งที่มีโสมนัส
รื่นเริงใจก็มี กลัวอวดก็มี มีตนเป็นกลางอวดก็มี.

วินีตวัตถุในจตุตถปาราชิก


[เรื่องสำคัญ ว่าได้บรรลุ]


เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ ในวินีตวัตถุทั้งหลาย มีนัยดังกล่าวแล้ว ใน
อนุบัญญัตินั่นแล.
ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า ปณิธาย ได้แก่ ทำความ
ปรารถนาไว้.
ข้อว่า เอวํ มํ ชโน สมฺภาเวสฺสติ มีความว่า (ภิกษุรูปใดรูป
หนึ่ง อยู่ในป่าด้วยตั้งใจว่า), ชนจักยกย่องเราผู้อยู่ในป่า ในความเป็นพระ
อรหันต์ หรือในภูมิแห่งพระเสขะ ด้วยวิธีอย่างนี้. แต่กาลนั้นไป เราจักเป็น
ผู้อันชาวโลกสักการะ เคารพนับถือ บูชา.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อเธอ เดินไปด้วย
ตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักอยู่ในป่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. ในกิจทั้งปวง มี
การสร้างกุฎี เดินจงกรม นั่ง และนุ่งห่มเป็นต้นในป่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ
ประโยค เหมือนอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้นภิกษุไม่ควรอยู่ในป่า ด้วยความตั้ง
ใจอย่างนั้น. จริงอยู่ เมื่ออยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น จะได้รับความยกย่อง
หรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องทุกกฏ. ส่วนภิกษุใด สมาทานธุดงค์แล้ว คิดว่า เรา
จักรักษาธุดงค์ หรือว่า เมื่อเราพักอยู่ในแดนบ้าน จิตย่อมฟุ้งซ่าน, ป่าเป็น
ที่สบาย ดังนี้ จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะอยู่ป่าอันหาโทษมิได้ด้วยทำความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบรรลุบรรดาวิเวกทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่งในป่าแน่
แท้ ดังนี้ ก็ดี ว่า เราเข้าไปสู่ป่ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จักไม่
ออกมา ดังนี้ ก็ดี ว่า ชื่อว่าการอยู่ป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ